Warunee Kuthithamee วารุณี ขัติเตมี
การประชุมเอเชียแปซิฟิกนั้นจัดประชุมขึ้นทุกสองปี ซึ่งได้มีการจัดการประชุมมามากกว่า 20 ปี โดยครั้งแรกจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นทำให้คณะกรรมการดำเนินการในการประชุมเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 นี้ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน จึงได้ประกาศเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมแบบออนไลน์ ในทุก ๆ 2 สัปดาห์ เป็นจำนวน 14 ครั้ง และแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 90 นาที ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมฟังการประชุม
โดยการประชุมครั้งที่ 10 นี้ได้เน้นประเด็นเรื่อง สุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ (sexual and reproductive health & rights - SRHR) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals: SDGs ซึ่งเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาของโลกที่องค์การสหประชาชาติ ได้ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาตินครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ได้นำไปสู่การปฏิบัติที่บรรลุผลสำเร็จ เพื่อเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ในช่วงระยะเวลา 15 ปี (จากเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 – สิงหาคม พ.ศ. 2573) โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ และทางประเทศไทยเองก็ได้ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์เป็นเรื่องสำคัญ โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการส่งเสริมอนามัยเจริญพันธุ์ไว้ 10 ประการ โดยแต่ละประเด็นได้มีความเกี่ยวข้องกัน
การประชุมออนไลน์ครั้งแรกของการประชุมเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน นี้
ศาสตราจารย์ แคโรไลน์ โฮเมอร์ ผู้อำนวยการร่วมโครงการสุขภาพสตรีและเด็ก จากสถาบันเบอร์เน็ต ได้พูดในหัวข้อเรื่อง “การระบุปัญหาและอุปสรรคเพื่อเร่งความก้าวหน้าของสุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ในเอเชียแปซิฟิก” ได้กล่าวในการประชุมว่า
สุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนามนุษย์ และการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศนั้นที่ต้องเข้าถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้มีการเชื่อมโยงอย่างมากมายในเรื่องของสุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ กับความเท่าเทียมกันทางเพศและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิง เนื่องจากทุกคนมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับร่างกายของตนโดยปราศจากการตีตรา การเลือกปฏิบัติ และการบีบบังคับ
ปัจจุบันนี้ปัญหาที่มีอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือ
- ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสถานบริการด้านสุขภาพ
- ผู้หญิงมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี ไม่ได้คลอดลูกในสถานพยาบาล
- ผู้หญิงมากกว่า 45 ล้านคนไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอหรือไม่มีการฝากครรภ์
- ผู้หญิงมากกว่า 2 ล้านคนต้องการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ แต่ไม่สามารถใช้วิธีการคุมกำเนิดสมัยใหม่ได้
- มีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยมากเกินไป
- ชายและหญิงจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับการรักษาหนึ่งในสี่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ทำให้เห็นว่าสุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์นั้นไม่ใช่เพียงปัญหาของผู้หญิงหรือผู้ชาย แต่เป็นปัญหาทั้งหมดของเราทุกคน
โดยอุปสรรคที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพด้านสุขภาพ ได้แก่ การขาดการเข้าถึงบริการ ขาดการบริการที่แพร่หลาย การที่ไม่สามารถจ่ายค่าบริการได้ ขาดการยอมรับ ความยากจน โอกาสที่จำกัด รวมถึงครอบครัวที่มีความรุนแรงด้วย
ปัจจุบันนี้ COVID 19 ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึง และความพร้อมในการให้บริการ เนื่องจากการให้บริการจำนวนมากนั้นได้ให้มุ่งเน้นด้าน COVID มากกว่าด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
ผู้อำนวยการทั่วไปของ องค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวย้ำเกี่ยวกับ COVID-19 ว่า “ทุกประเทศจะต้องมีความสมดุลระหว่างการดูแลสุขภาพ การหยุดชะงักทางสังคม และการเคารพสิทธิมนุษยชน”
เมื่อระบบสุขภาพถูกแทรกแซง บรรดาประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องตัดสินใจ เพื่อสร้างความสมดุล ระหว่างการตอบสนองต่อ COVID พร้อมทั้งต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์และดำเนินการประสานงาน เพื่อให้บริการด้านสุขภาพอื่นที่จำเป็นด้วย จึงทำให้การให้บริการต่าง ๆ นั้นจะมีความท้าทายมากขึ้น และสิทธิของสตรีในเรื่องการดูแลสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ควรได้รับการเคารพ โดยไม่คำนึงถึงสถานะของ COVID
และ Covid 19 ทำให้เกิดผลกระทบทางอ้อม ต่อการให้บริการด้านอื่น ๆ ได้หยุดชะงักลง และผลกระทบทางอ้อมนี้เอง ส่งผลต่อผลกระทบทางตรงของผู้หญิงที่สงสัยว่าเป็น COVID ได้ให้ถูกปฏิเสธการดูแลรักษา การตีตรา และเลือกปฏิบัติ
ศาสตราจารย์ แคโรไลน์ ยังได้กล่าวว่า หลักการตอบรับในสถานการณ์ช่วง COVID นี้ คือ เราควรจัดลำดับความสำคัญที่จำเป็นในการให้บริการด้านสุขภาพ โดยการปรับบริบทที่เปลี่ยนแปลงต่อความต้องการ โดยใช้การสื่อสารทางไกลเพื่อให้เกิดบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น ปลอดภัย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในทุกระดับ โดยควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับคนจน และคนที่อ่อนแอที่สุดก่อน และเรายังจำเป็นต้องระดมทุนด้านสาธารณสุข ขจัดอุปสรรคทางการเงิน ในการเข้าถึงการบริการ ความพร้อมของยาและอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมถึงการตรวจติดตามบริการสุขภาพที่จำเป็นจะต้องดำเนินต่อไป
สิ่งที่เราทำได้ในสถานการณ์นี้ คือ เราต้องมีการปฏิรูปที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ และให้ผู้หญิงสามารถควบคุมร่างกายของพวกเขาได้มากขึ้น เราต้องระบุอุปสรรคและปัญหาเพื่อป้องกันด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยทุกคนต้องเป็นคนตัดสินใจเองเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของพวกตนเอง รวมถึงเคารพการตัดสินใจของผู้อื่นด้วย และที่สำคัญเราควรใช้สถานการณ์ COVID นี้ เป็นโอกาสในการปฏิรูป และเปลี่ยนแปลงต่อไป
7 July 2020