การประชุมออนไลน์ครั้งที่สาม ของการประชุมเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 เรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในภูมิภาคแปซิฟิก

การประชุมออนไลน์ครั้งที่สาม ของการประชุมเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 โดยการประชุมครั้งนี้มีหัวข้อเรื่อง สุขภาพและสิทธิทางเพศและด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในภูมิภาคแปซิฟิก

Karen Hill, ผู้อำนวยการ โครงการและปฎิบัติการภูมิภาคแปซิฟิกของสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ ได้นำเสนอกลยุทธ์ Niu Vaka ในภูมิภาคแปซิฟิกปี พ.ศ. 2562 – 2565

The International Planned Parenthood Federation (IPPF) หรือสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ ได้ก่อตั้งขึ้นในภูมิภาคแปซิฟิก เป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี โดยเป็นการรวมตัวกันของสมาชิก 9 ประเทศ ในภูมิภาคแปซิฟิก ได้แก่ เกาะคุก, ฟิจิ, คิริบาตี, ปาปัวนิวกินี, ซามัว, หมู่เกาะโซโลมอน, ตองงา, ตูวาลู และ วานูอาตู โดยได้มุ่งเน้นการทำงานด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในชุมชนของพวกเขา ในเรื่องของสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

กลยุทธ์ Niu Vaka ได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับภูมิภาคแปซิฟิกโดยภูมิภาคแปซิฟิกเอง ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการวางรากฐานในกรอบยุทธศาสตร์ระดับโลกของสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ ปี พ.ศ. 2559 - 2565 เพื่อกระตุ้นให้เกิดสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์รวมถึงสิทธิในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

Niu Vaka ได้ชื่อมาจากสองแนวคิด ซึ่งเป็นคำสองคำ ที่เป็นศูนย์กลาง ของเอกลักษณ์ ในหมู่เกาะแปซิฟิก คือ คำว่า niu และ คำว่า Vaka โดยต้น Niu หรือ ต้นปาล์ม นั้นซึ่งมักถูกเรียกว่าเป็นต้นไม้แห่งชีวิต เป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังของความยืดหยุ่นและการฟื้นฟู โดย Niu นั้นลอยอยู่ระหว่างหมู่เกาะแปซิฟิก และเมื่อมันปลิวไปตกในเกาะ รากก็จะชอนไชลงไปบนพื้น ส่วน Vaka หรือ เรือแคนนู ซึ่งสมัยโบราณได้ใช้เรือแคนนูในการเดินทางระหว่างเกาะแปซิฟิก และยังเชื่อมโยงหมู่เกาะแปซิฟิกเข้าด้วยกัน ให้เป็นสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์ที่ใช้ร่วมกัน

ดังนั้นเมื่อรวมกันแล้ว Niu และ Vaka จึงเป็นตัวแทนของความยั่งยืน ความมั่งคั่ง ความยืดหยุ่น และการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

โดยกรอบยุทธศาสตร์ระดับโลกของสหพันธ์วางแผนครอบครัว ระหว่างประเทศปี พ.ศ. 2559 – 2565 นั้น มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน คือ ทุกคนที่อาศัยในภูมิภาคแปซิฟิก มีอิสระที่จะตัดสินใจเรื่องเพศของตนเอง และความเป็นอยู่ในโลกนี้ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
ซึ่งกลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนให้เป็นองค์รวม และเกิดการบูรณาการให้กับสมาชิกทั่วภูมิภาคแปซิฟิก ให้สามารถเข้าถึงการบริการได้มากขึ้น และส่งผลให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้

มุ่งเน้นผลลัพธ์สี่ด้าน ได้แก่
1. รัฐบาลในภูมิภาคแปซิฟิกส่งเสริมให้เกิดความเคารพ การปกป้อง และการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ต่อเรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ รวมถึงความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น
2. ประชากรจำนวน 1 ล้านคน ในประเทศภูมิภาคแปซิฟิก มีอิสระในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ของพวกเขาเอง
3. การขยายสถานบริการที่มีคุณภาพจำนวน 1.2 ล้านแห่ง โดยเป็นการผสมผสานเรื่องเพศและสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ โดยการบริการนี้ ยังได้มุ่งเน้นสำหรับคนด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงการบริการได้ด้วย
4. การจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง มีความรับผิดชอบ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างยั่งยืน ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในภูมิภาคแปซิฟิก

โดยมีหลักการอยู่ 5 ประการ คือ การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การใช้หลักฐานเป็นแนวทางการแก้ปัญหาในท้องถิ่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีความหลากหลายในการทำงาน และการรับผิดชอบต่อแหล่งทุน เครือข่ายพันธมิตรและกลุ่มเป้าหมาย

ความสำคัญของกลยุทธ์ Niu Vaka คือ การให้ทุกคนสามารถมีทางเลือกได้อย่างเสรี และได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ โดยการพัฒนาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลและครอบครัวนั้น จะส่งผลให้เกิดแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

โดยกลยุทธ์ Niu Vaka นั้นสามารถทำให้เกิด
- การสนับสนุนเป้าหมายที่ชัดเจนกับกลุ่มสมาชิกในภูมิภาคแปซิฟิก
- การปรับปรุงให้เกิดความยั่งยืนและให้มีการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มประเทศสมาชิก
- การขยายการเข้าถึงเพื่อให้สมาชิกในภูมิภาคแปซิฟิกสามารถเข้าถึงผู้คนได้หลากหลายมากขึ้น รวมถึงชนกลุ่มน้อยและผู้ด้อยโอกาส
- การสร้างสภาพแวดล้อม ด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
- การเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน การจัดทำรายงาน รวมถึงกระบวนการระดมทุน

เหตุผลที่ใช้กลยุทธ์ Niu Vaka คือ
- การมีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
- การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ของสมาชิก 9 ประเทศของภูมิภาคแปซิฟิก ในแง่ของความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค โดยมุ่งเน้นไปที่โอกาสในการเสริมสร้างศักยภาพ และการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการทำงานด้านพัฒนา
- แพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร และผู้มีส่วนร่วมทุกคน ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรม เพื่อให้แน่ใจว่ามีความเข้าใจในการดำเนินการ และการรายงานกิจกรรม พร้อมทั้งมีระบบการติดตามและประเมินผลที่ดี
- การเพิ่มขึ้นในด้านการมุ่งเน้นไปที่เครือข่ายพันธมิตร และประสิทธิผลของเงินทุนที่เครือข่ายพันธมิตรสามารถจัดหามาได้ โดยมีแพลตฟอร์มที่ดีสำหรับผู้ให้ทุนหรือผู้บริจาค
- การเพิ่มความอิสระ และความยืดหยุ่นให้แก่สมาชิก 9 ประเทศของภูมิภาคแปซิฟิก เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญของตนเอง และตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ได้

ความท้าทายของกลยุทธ์ Niu Vaka
- เกิดการใช้เวลานานในการที่จะโน้มน้าวต่อผู้บริจาคสำหรับกลยุทธ์ใหม่นี้ เนื่องจากผู้บริจาคต้องการระดมทุน สำหรับกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจง ทำให้เราจึงต้องมีความยืดหยุ่น
- ผู้บริจาคต้องการรายงานและข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจทำให้สมาชิก 9 ประเทศของภูมิภาคแปซิฟิก ลดความสำคัญของกลยุทธ์ Niu Vaka ลง
- ข้อตกลงของการระดมทุนในกระบวนการของสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ ทำให้ไม่เกิดความยืดหยุ่น และคล่องตัวในการระดมทุน
- ไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคนิคและทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเพียงพอ สำหรับการเข้าถึงในพื้นที่ใหม่ ๆ
- สมาชิก 9 ประเทศของภูมิภาคแปซิฟิกที่มีขนาดเล็กนั้น ส่งผลกระทบที่สูงกว่ามาก เช่น การตัดลดเงินทุน การลดจำนวนพนักงาน และการเปลี่ยนแปลง ลำดับความสำคัญของผู้บริจาค

ยังคงต้องมีการปรับปรุงกลยุทธ์ Niu Vaka โดย
- เพิ่มทัศนวิสัยสำหรับสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศต่อสมาชิก 9 ประเทศ ของภูมิภาคแปซิฟิก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
- เพิ่มความอิสระให้กับ สมาชิก 9 ประเทศของภูมิภาคแปซิฟิก เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญและตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นใหม่
- เพิ่มการทำงานในด้านการพัฒนา ปรับปรุงระบบการจัดการโครงการ กระบวนการ ระบบการจัดการข้อมูล และกำลังคนให้แก่สมาชิก 9 ประเทศของภูมิภาคแปซิฟิก
- มีข้อมูลที่ดีเพื่อใช้สำหรับการวางแผน ตัดสินใจ และดำเนินการติดตาม ประเมินผลกิจกรรมที่สำคัญอย่างรวดเร็ว
- เพิ่มจำนวนคลินิกและคลินิกคลื่นที่ รวมถึงกำลังคนเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
- สนับสนุนสำนักงานย่อยประจำภูมิภาคแปซิฟิก เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำกลยุทธ์ Niu Vaka ไปใช้ในการวางแผนการพัฒนา และแผนงานประจำปีแบบบูรณาการ
- ปรับปรุงความร่วมมือกับรัฐบาล
- เพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริจาค

ความสำเร็จจนถึงปีพ.ศ. 2562 ได้แก่
- การเพิ่มขึ้น 8.14% ของการให้บริการและการส่งต่อ
- การเพิ่มขึ้น 10.2% ของการให้บริการด้านสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ รวมถึงการบริการที่ไม่ใช่ด้านสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์
- การเพิ่มขึ้น 8.5% ของผู้เข้ารับบริการ
- การเพิ่มขึ้น 35% ของการบริการด้าน สุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ของคลินิกเคลื่อนที่
- การเพิ่มขึ้น 40% ของของเยาวชนที่ได้จบหลักสูตรเพศวิถีศึกษา
- การเพิ่มขึ้น 75% ของผู้รับบริการที่เป็นผู้พิการ

วารุณี ขัติเตมี
รายงาน

28 July 2020