การประชุมออนไลน์ครั้งที่สอง ของการประชุมเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 โดยครั้งนี้เป็นเหตุการณ์พิเศษ เนื่องในวันประชากรโลก โดยมีหัวข้อเรื่อง วันประชากรโลก: การเร่งสิทธิและให้ทางเลือกสำหรับทุกคน หลังสถานการณ์ COVID ในเอเชียแปซิฟิก
วันประชากรโลก หรือ World Population Day นั้นคือ วันที่ 11 กรกฎาคม โดยได้กำหนดขึ้นจากคณะมนตรีประศาสน์การของ สหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนา เมื่อ พ.ศ. 2532 เพื่อให้เกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาของประชากรโลก โดยมีกองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ หรือ UNFPA เป็นผู้รับผิดชอบ และดูแล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือทุกประเทศในโลก ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนา เกี่ยวกับการวางแผนประชากร และการวางแผนครอบครัว สร้างความตื่นตัวในเรื่อง ปัญหาประชากรและการหาวิธีแก้ไข
บิจอน แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการ UNFPA ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวในที่ประชุมว่า
เขาได้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (International Conference on Population and Development- ICPD) ที่ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกที่เมืองไคโร ประเทศ อียิปต์ วันที่ 5 – 13 กันยายน ปี พ.ศ. 2537 เพื่อเป็นสักขีพยานแก่ประเทศสมาชิก 179 ประเทศ ซึ่งมีมติ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแล ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ อย่างครอบคลุม ซึ่งรวมไปถึงการวางแผนครอบครัวแบบเต็มใจ การคลอดและ การดูแลบุตรที่ปลอดภัย โดยหัวใจสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ ได้เน้นสิทธิ และทางเลือกของปัจเจกบุคคล
กว่า 25 ปี นับตั้งแต่ ICPD พ.ศ. 2537 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความคืบหน้าอย่างมี นัยสำคัญ ที่มุ่งขจัดสามเรื่องสำคัญ คือ ความต้องการการคุมกำเนิดที่ไม่สัมฤทธิ์ การเสียชีวิตของมารดาจากการคลอดที่ป้องกันได้ และความรุนแรงบนฐานเพศ และการกระทำที่เป็นอันตรายต่อผู้หญิงและวัยรุ่นหญิง โดยสามอย่างนี้ต้องเป็นศูนย์ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้หญิงอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่สามารถเข้าถึง สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ และเข้าถึงข้อมูล และการบริการการคุมกำเนิด ที่ทันสมัยได้
โดย UNFPA ได้เรียกร้อง ในโอกาสวันประชากรโลกนี้ ให้มีการใส่ใจ ในประเด็นความเปราะบาง และความต้องการของผู้หญิง และวัยรุ่นหญิงในช่วงวิกฤตการณ์โควิด - 19 และใส่ใจถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมการคุ้มครองสิทธิ และสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งการยุติ การระบาดใหญ่ ของความรุนแรงบนฐานเพศ จึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้
Gita Sen ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด้านสุขภาพและประชากรโลกของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและศาสตราจารย์พิเศษ ที่มูลนิธิสาธารณสุข ของอินเดีย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า
Covid19 ทำให้เราได้เห็นถึง:
1. จุดอ่อนของระบบสุขภาพ ซึ่งการรับมือ กับการแพร่ระบาด ของโรคนั้น ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในระบบสุขภาพ และการศึกษา สำหรับผู้หญิงและวัยรุ่นหญิง ให้รวมถึงการเข้าถึง การทำแท้งอย่างปลอดภัย การคุมกำเนิด และการให้ความรู้เรื่องเพศ สำหรับวัยรุ่นหญิง
2. ความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูง อย่างประเทศสิงคโปร์ ก็ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบ แรงงานอพยพผู้หญิง และชุมชนของชนกลุ่มน้อยอย่างมากที่สุด โดยแรงงานเหล่านี้อาศัยอยู่บริเวณที่ชุมชนแออัด ในเขตชานเมือง และไม่สามารถเข้าถึงบริการที่เหมาะสมได้ ซึ่งวิธีแก้ปัญหาคือ การลงทุนในที่อยู่อาศัย น้ำ สุขาภิบาล และการขนส่งสาธารณะ รวมถึงควรมี ระบบภาษีที่ก้าวหน้า โดยการเก็บภาษีจากคนรวย เพื่อสนับสนุน การบริการสาธารณะที่จำเป็น
3. ความไม่เท่าเทียมกันนั้น มีโครงสร้างที่หยั่งรากลึก สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้ ระหว่างการระบาดของไวรัสนี้ คือมีความรุนแรงต่อผู้หญิง และวัยรุ่นหญิง โดยการถูกกักขังไว้กับผู้ที่ทำร้าย ในบ้านของพวกเขาเอง ระหว่างช่วงเวลาที่ถูกควบคุม แต่ปีนี้ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และองค์การอนามัยโลก ได้มีแนวทาง ในการกำหนดนโยบาย ลดความรุนแรงต่อผู้หญิง และวัยรุ่นหญิง
4. การดูแลสุขภาพส่วนตัวนั้น มีค่าใช้จ่ายสูงมาก รัฐควรลงทุนในการให้บริการด้านสาธารณสุขเพื่อให้ทุกคนได้รับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และควรสร้างความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพหญิงว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
5. การแบ่งแยกได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว มากกว่าความเป็นปึกแผ่นของชุมชน แต่ในรัฐ Kerala ของประเทศอินเดีย กลับสามารถทำได้ดีในช่วงของการระบาดใหญ่ หรือแม้แต่ Dharavi ในเมืองมุมไบ ซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ก็ยังทำได้ดีกว่าที่คาดไว้ และประเทศไทยก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสมานฉันท์เช่นนี้
6. ในช่วงการระบาดของโรค ทำให้เราได้เห็นผู้นำที่ ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น ในการจัดการเรื่องการตรีตรา และจัดการกับฟันเฟืองที่ต่อต้าน เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และสิ่งที่น่าเศร้านั้นคือ ผู้นำบางคนยังคงจัดการไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม ทำให้เรามีความจำเป็นที่ต้องจัดการกับเรื่องนี้
โดยผู้หญิงมีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สมดุล และสังคมที่ยั่งยืน และยังมีความใส่ใจต่อสังคมเป็นอย่างมาก
Dr Junice Melgar ผู้ที่ทำงานที่ศูนย์ Likhaan เพื่อสุขภาพสตรี ในประเทศฟิลิปปินส์ ได้กล่าวว่า
ปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ในการเข้าถึงการให้บริการสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ในประเทศฟิลิปปินส์ช่วง COVID 19 คือ
1. แม้จะมีการประกาศ ให้มีการบริการด้านสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ที่จำเป็น แต่กลับเป็นเรื่องยากในช่วงที่มี มาตรการกักกันชุมชน โดยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด ที่ไม่ได้ให้บริการเกี่ยวกับ COVID นี้ถูกปิดไปทั้งหมด
2. ผู้ป่วยผู้หญิงมีความลำบากเป็นอย่างมาก ในเข้ารับการบริการ ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
3. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ได้เผชิญกับปัญหา เนื่องจากโรงพยาบาลขนาดเล็กปิดตัวลง และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ปฏิเสธที่จะรับเข้าเพราะกลัว COVID และมีสื่อได้ลงข่าวการเสียชีวิตของหญิงสาวรายหนึ่ง ที่เสียเลือดจากรก ที่คาไว้ หลังจากถูกปฏิเสธโดยสถานพยาบาลถึง 6 แห่ง
4. ไม่มีที่พักอาศัย สำหรับผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรง จากคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด ทำให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก ยังคงต้องอยู่กับ ผู้ที่ทำร้ายจนกว่า COVID จะผ่านพ้นไป
ในช่วง COVID 19 นี้ นักกิจกรรมด้านสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการศึกษาของรัฐ และสนับสนุนสิทธิของผู้ป่วย และผู้ให้การบริการ เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่า คนทุกคนและชุมชน นั้นเป็นส่วนสำคัญในการเอาชนะ COVID-19 เฉกเช่นเดียวกับการที่เป็นส่วนสำคัญในเรื่องของการบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
วันประชากรโลก หรือ World Population Day นั้นคือ วันที่ 11 กรกฎาคม โดยได้กำหนดขึ้นจากคณะมนตรีประศาสน์การของ สหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนา เมื่อ พ.ศ. 2532 เพื่อให้เกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาของประชากรโลก โดยมีกองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ หรือ UNFPA เป็นผู้รับผิดชอบ และดูแล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือทุกประเทศในโลก ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนา เกี่ยวกับการวางแผนประชากร และการวางแผนครอบครัว สร้างความตื่นตัวในเรื่อง ปัญหาประชากรและการหาวิธีแก้ไข
บิจอน แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการ UNFPA ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวในที่ประชุมว่า
เขาได้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (International Conference on Population and Development- ICPD) ที่ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกที่เมืองไคโร ประเทศ อียิปต์ วันที่ 5 – 13 กันยายน ปี พ.ศ. 2537 เพื่อเป็นสักขีพยานแก่ประเทศสมาชิก 179 ประเทศ ซึ่งมีมติ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแล ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ อย่างครอบคลุม ซึ่งรวมไปถึงการวางแผนครอบครัวแบบเต็มใจ การคลอดและ การดูแลบุตรที่ปลอดภัย โดยหัวใจสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ ได้เน้นสิทธิ และทางเลือกของปัจเจกบุคคล
กว่า 25 ปี นับตั้งแต่ ICPD พ.ศ. 2537 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความคืบหน้าอย่างมี นัยสำคัญ ที่มุ่งขจัดสามเรื่องสำคัญ คือ ความต้องการการคุมกำเนิดที่ไม่สัมฤทธิ์ การเสียชีวิตของมารดาจากการคลอดที่ป้องกันได้ และความรุนแรงบนฐานเพศ และการกระทำที่เป็นอันตรายต่อผู้หญิงและวัยรุ่นหญิง โดยสามอย่างนี้ต้องเป็นศูนย์ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้หญิงอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่สามารถเข้าถึง สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ และเข้าถึงข้อมูล และการบริการการคุมกำเนิด ที่ทันสมัยได้
โดย UNFPA ได้เรียกร้อง ในโอกาสวันประชากรโลกนี้ ให้มีการใส่ใจ ในประเด็นความเปราะบาง และความต้องการของผู้หญิง และวัยรุ่นหญิงในช่วงวิกฤตการณ์โควิด - 19 และใส่ใจถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมการคุ้มครองสิทธิ และสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งการยุติ การระบาดใหญ่ ของความรุนแรงบนฐานเพศ จึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้
Gita Sen ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด้านสุขภาพและประชากรโลกของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและศาสตราจารย์พิเศษ ที่มูลนิธิสาธารณสุข ของอินเดีย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า
Covid19 ทำให้เราได้เห็นถึง:
1. จุดอ่อนของระบบสุขภาพ ซึ่งการรับมือ กับการแพร่ระบาด ของโรคนั้น ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในระบบสุขภาพ และการศึกษา สำหรับผู้หญิงและวัยรุ่นหญิง ให้รวมถึงการเข้าถึง การทำแท้งอย่างปลอดภัย การคุมกำเนิด และการให้ความรู้เรื่องเพศ สำหรับวัยรุ่นหญิง
2. ความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูง อย่างประเทศสิงคโปร์ ก็ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบ แรงงานอพยพผู้หญิง และชุมชนของชนกลุ่มน้อยอย่างมากที่สุด โดยแรงงานเหล่านี้อาศัยอยู่บริเวณที่ชุมชนแออัด ในเขตชานเมือง และไม่สามารถเข้าถึงบริการที่เหมาะสมได้ ซึ่งวิธีแก้ปัญหาคือ การลงทุนในที่อยู่อาศัย น้ำ สุขาภิบาล และการขนส่งสาธารณะ รวมถึงควรมี ระบบภาษีที่ก้าวหน้า โดยการเก็บภาษีจากคนรวย เพื่อสนับสนุน การบริการสาธารณะที่จำเป็น
3. ความไม่เท่าเทียมกันนั้น มีโครงสร้างที่หยั่งรากลึก สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้ ระหว่างการระบาดของไวรัสนี้ คือมีความรุนแรงต่อผู้หญิง และวัยรุ่นหญิง โดยการถูกกักขังไว้กับผู้ที่ทำร้าย ในบ้านของพวกเขาเอง ระหว่างช่วงเวลาที่ถูกควบคุม แต่ปีนี้ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และองค์การอนามัยโลก ได้มีแนวทาง ในการกำหนดนโยบาย ลดความรุนแรงต่อผู้หญิง และวัยรุ่นหญิง
4. การดูแลสุขภาพส่วนตัวนั้น มีค่าใช้จ่ายสูงมาก รัฐควรลงทุนในการให้บริการด้านสาธารณสุขเพื่อให้ทุกคนได้รับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และควรสร้างความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพหญิงว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
5. การแบ่งแยกได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว มากกว่าความเป็นปึกแผ่นของชุมชน แต่ในรัฐ Kerala ของประเทศอินเดีย กลับสามารถทำได้ดีในช่วงของการระบาดใหญ่ หรือแม้แต่ Dharavi ในเมืองมุมไบ ซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ก็ยังทำได้ดีกว่าที่คาดไว้ และประเทศไทยก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสมานฉันท์เช่นนี้
6. ในช่วงการระบาดของโรค ทำให้เราได้เห็นผู้นำที่ ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น ในการจัดการเรื่องการตรีตรา และจัดการกับฟันเฟืองที่ต่อต้าน เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และสิ่งที่น่าเศร้านั้นคือ ผู้นำบางคนยังคงจัดการไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม ทำให้เรามีความจำเป็นที่ต้องจัดการกับเรื่องนี้
โดยผู้หญิงมีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สมดุล และสังคมที่ยั่งยืน และยังมีความใส่ใจต่อสังคมเป็นอย่างมาก
Dr Junice Melgar ผู้ที่ทำงานที่ศูนย์ Likhaan เพื่อสุขภาพสตรี ในประเทศฟิลิปปินส์ ได้กล่าวว่า
ปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ในการเข้าถึงการให้บริการสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ในประเทศฟิลิปปินส์ช่วง COVID 19 คือ
1. แม้จะมีการประกาศ ให้มีการบริการด้านสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ที่จำเป็น แต่กลับเป็นเรื่องยากในช่วงที่มี มาตรการกักกันชุมชน โดยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด ที่ไม่ได้ให้บริการเกี่ยวกับ COVID นี้ถูกปิดไปทั้งหมด
2. ผู้ป่วยผู้หญิงมีความลำบากเป็นอย่างมาก ในเข้ารับการบริการ ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
3. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ได้เผชิญกับปัญหา เนื่องจากโรงพยาบาลขนาดเล็กปิดตัวลง และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ปฏิเสธที่จะรับเข้าเพราะกลัว COVID และมีสื่อได้ลงข่าวการเสียชีวิตของหญิงสาวรายหนึ่ง ที่เสียเลือดจากรก ที่คาไว้ หลังจากถูกปฏิเสธโดยสถานพยาบาลถึง 6 แห่ง
4. ไม่มีที่พักอาศัย สำหรับผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรง จากคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด ทำให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก ยังคงต้องอยู่กับ ผู้ที่ทำร้ายจนกว่า COVID จะผ่านพ้นไป
ในช่วง COVID 19 นี้ นักกิจกรรมด้านสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการศึกษาของรัฐ และสนับสนุนสิทธิของผู้ป่วย และผู้ให้การบริการ เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่า คนทุกคนและชุมชน นั้นเป็นส่วนสำคัญในการเอาชนะ COVID-19 เฉกเช่นเดียวกับการที่เป็นส่วนสำคัญในเรื่องของการบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
13 July 2020