Warunee Kuthithamee วารุณี ขัติเตมี รายงาน
โดยวันที่ 28 กันยายนของทุกปีเป็น "วันยุติการตั้งครรภ์สากล" หรือ International Safe Abortion Day เป็นวันที่องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้มีการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย เป็นนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญในระดับโลก และเนื่องด้วยวันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมานี้ เราได้สูญเสียบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิการทำแท้ง นั่นคือ Ruth Bader Ginsburg ผู้พิพากษาศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกา ด้วยวัย 87 ปี โดยเธอได้ยืนยันเสมอว่าสิทธิในการทำแท้งเป็นกุญแจสำคัญในการปกครองตนเองของผู้หญิง และเธอได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการทำแท้งในระหว่างการพิจารณาคดี ในปีพ.ศ. 2536 ว่าสิทธิในการทำแท้งนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตและศักดิ์ศรีของผู้หญิง ซึ่งการตัดสินใจนี้พวกเธอต้องทำเพื่อตัวเอง ถ้าหากรัฐบาลควบคุมการตัดสินใจของพวกเธอแล้ว พวกเธอก็จะได้รับการปฏิบัติที่ด้อยกว่ามนุษย์ที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อการเลือกของพวกเธอเอง”Amy Williamson ผู้อำนวยการประจำประเทศกัมพูชาขององค์กร Marie Stopes International ผู้เป็นประธานได้กล่าวว่า วันยุติการตั้งครรภ์สากล เป็นวันรณรงค์เพื่อการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย และถูกกฎหมายในทางด้านสาธารณสุข สิทธิมนุษยชน และความยุติธรรมในการสืบพันธุ์ ซึ่งหัวข้อในปีนี้คือ "การรับยาทางไกล การทำแท้งด้วยตนเอง และการเข้าถึงการทำแท้งอย่างปลอดภัย ในบริบทของการแพร่ระบาดของ COVID-19"
Dr Suchitra Dalvie ผู้ประสานงานขององค์กร Asia Safe Abortion Partnership (ASAP) กล่าวว่า การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยยังคงสูงมากในเอเชียแปซิฟิกและในแอฟริกาใต้สะฮารา โดยมีสาเหตุมาจากปัญหามากมายที่นอกเหนือจากการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ รวมถึงการทำแท้งด้วยตนเองด้วย
ซึ่งในปีนี้องค์การอนามัยโลก เพิ่งได้กำหนดเรื่องการดูแลตนเอง และจัดทำ Fact sheet โดยได้กล่าวถึงวิธีการเข้าถึงการดูแลตนเองที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับตนเอง การจัดการระบบการดูแลสุขภาพนั้น เราจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของการทำแท้งด้วยตนเองที่ปลอดภัย โดยเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง และไม่ต้องเผชิญ สถานการณ์ที่สตรีตั้งครรภ์ถูกบังคับให้ทำแท้งเถื่อน โดยสตรีตั้งครรภ์ควรมีข้อมูลที่ถูกต้อง และเพียงพอที่จะสามารถประเมินการตั้งครรภ์ การดำเนินกระบวนการทำแท้ง รวมถึงเลือกสถานที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องไปสถานพยาบาล และยังสามารถจัดหายาได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะทางออนไลน์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ยังควรจะสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพได้ ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด ๆ ของกระบวนการ
การสนับสนุนการทำแท้งเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากการขาดข้อมูลในการเข้าถึงการทำแท้ง และการทำแท้งนั้นยังเป็นที่เรื่องไม่ถูกกฎหมาย ทำให้ยากที่จะให้ความสำคัญและการสนับสนุน เนื่องจากมีทรัพยากรที่จำกัด ดังนั้น องค์กร Asia Safe Abortion Partnership ได้แก้ไขปัญหานี้ โดยการพัฒนารายการในการตรวจสอบเพื่อวัดการเข้าถึงการทำแท้ง เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของสิทธิการทำแท้งอย่างปลอดภัย ดังนี้
การโจมตีสิทธิในการทำแท้ง และการคืนสถานะของกฎจำกัดเสรีภาพการพูด โดยการบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ทำลายความเป็นอิสระของร่างกาย โดยการปฏิเสธไม่ให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงการบริการทำแท้งที่ปลอดภัย และยังเป็นการตอกย้ำถึงการถูกกีดกันอย่างต่อเนื่อง และการเลือกปฏิบัติของผู้หญิงและเด็กหญิงบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ทางเพศและการเจริญพันธุ์
ผลกระทบของ Covid 19 ส่งผลต่อผู้ที่ตั้งครรภ์ให้เจอปัญหาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศในซีกโลกใต้ ในการเข้าถึงอุปกรณ์การทำแท้งที่มีคุณภาพทางการแพทย์และข้อมูลที่ถูกต้อง โดยการศึกษาของ Guttmacher ประเมินว่าจากการแพร่ระบาดนี้ ทำให้ในอาเซียนมีการทำแท้งที่ปลอดภัยเปลี่ยนไปถึง 10% ไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งการเข้าถึงที่ลดลงในช่วงหนึ่งปีจะส่งผลให้มีผู้หญิงเพิ่มขึ้นอีก 49 ล้านคน มีความต้องการยาคุมกำเนิดสมัยใหม่ และการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจเพิ่มขึ้นอีก 15 ล้านคน โดยการศึกษาขององค์กร Ipas Development Foundation พบว่า 3 เดือนแรก ในการปิดล้อมของประเทศอินเดีย เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ Covid 19 นั้น ผู้หญิงประมาณ 1.85 ล้านคน มีการเข้าถึงการทำแท้ง และ UNFPA คาดการณ์ว่า เนื่องจากวิกฤตนี้ อาจมีการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจมากถึง 7 ล้านคนทั่วโลก โดยอาจมีผู้เสียชีวิตหลายพันคน จากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย และการคลอดที่ซับซ้อน อันเนื่องจากการเข้าถึง การดูแลที่ฉุกเฉินนั้นไม่เพียงพอ และองค์กร Marie Stopes International ซึ่งทำงานใน 37 ประเทศ ได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2563 การปิดการให้บริการจะส่งผลให้ผู้หญิงและเด็กหญิงกลุ่มเปราะบางถึง 9.5 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการคุมกำเนิด และการบริการทำแท้งที่ปลอดภัย ซึ่งการหยุดชะงักดังกล่าว อาจส่งผลให้มีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย 2.7 ล้านครั้ง และเกิดการเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์ถึง 11,000 ราย
Dr Suchitra Dalvie ผู้ประสานงานขององค์กร Asia Safe Abortion Partnership (ASAP) กล่าวว่า การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยยังคงสูงมากในเอเชียแปซิฟิกและในแอฟริกาใต้สะฮารา โดยมีสาเหตุมาจากปัญหามากมายที่นอกเหนือจากการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ รวมถึงการทำแท้งด้วยตนเองด้วย
ซึ่งในปีนี้องค์การอนามัยโลก เพิ่งได้กำหนดเรื่องการดูแลตนเอง และจัดทำ Fact sheet โดยได้กล่าวถึงวิธีการเข้าถึงการดูแลตนเองที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับตนเอง การจัดการระบบการดูแลสุขภาพนั้น เราจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของการทำแท้งด้วยตนเองที่ปลอดภัย โดยเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง และไม่ต้องเผชิญ สถานการณ์ที่สตรีตั้งครรภ์ถูกบังคับให้ทำแท้งเถื่อน โดยสตรีตั้งครรภ์ควรมีข้อมูลที่ถูกต้อง และเพียงพอที่จะสามารถประเมินการตั้งครรภ์ การดำเนินกระบวนการทำแท้ง รวมถึงเลือกสถานที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องไปสถานพยาบาล และยังสามารถจัดหายาได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะทางออนไลน์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ยังควรจะสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพได้ ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด ๆ ของกระบวนการ
การสนับสนุนการทำแท้งเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากการขาดข้อมูลในการเข้าถึงการทำแท้ง และการทำแท้งนั้นยังเป็นที่เรื่องไม่ถูกกฎหมาย ทำให้ยากที่จะให้ความสำคัญและการสนับสนุน เนื่องจากมีทรัพยากรที่จำกัด ดังนั้น องค์กร Asia Safe Abortion Partnership ได้แก้ไขปัญหานี้ โดยการพัฒนารายการในการตรวจสอบเพื่อวัดการเข้าถึงการทำแท้ง เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของสิทธิการทำแท้งอย่างปลอดภัย ดังนี้
- วัดการเข้าถึงการทำแท้งอย่างปลอดภัย
- ใช้เกณฑ์มาตรฐานเพื่อกำหนดเป้าหมายเฉพาะ
- ประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จ
การโจมตีสิทธิในการทำแท้ง และการคืนสถานะของกฎจำกัดเสรีภาพการพูด โดยการบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ทำลายความเป็นอิสระของร่างกาย โดยการปฏิเสธไม่ให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงการบริการทำแท้งที่ปลอดภัย และยังเป็นการตอกย้ำถึงการถูกกีดกันอย่างต่อเนื่อง และการเลือกปฏิบัติของผู้หญิงและเด็กหญิงบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ทางเพศและการเจริญพันธุ์
ผลกระทบของ Covid 19 ส่งผลต่อผู้ที่ตั้งครรภ์ให้เจอปัญหาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศในซีกโลกใต้ ในการเข้าถึงอุปกรณ์การทำแท้งที่มีคุณภาพทางการแพทย์และข้อมูลที่ถูกต้อง โดยการศึกษาของ Guttmacher ประเมินว่าจากการแพร่ระบาดนี้ ทำให้ในอาเซียนมีการทำแท้งที่ปลอดภัยเปลี่ยนไปถึง 10% ไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งการเข้าถึงที่ลดลงในช่วงหนึ่งปีจะส่งผลให้มีผู้หญิงเพิ่มขึ้นอีก 49 ล้านคน มีความต้องการยาคุมกำเนิดสมัยใหม่ และการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจเพิ่มขึ้นอีก 15 ล้านคน โดยการศึกษาขององค์กร Ipas Development Foundation พบว่า 3 เดือนแรก ในการปิดล้อมของประเทศอินเดีย เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ Covid 19 นั้น ผู้หญิงประมาณ 1.85 ล้านคน มีการเข้าถึงการทำแท้ง และ UNFPA คาดการณ์ว่า เนื่องจากวิกฤตนี้ อาจมีการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจมากถึง 7 ล้านคนทั่วโลก โดยอาจมีผู้เสียชีวิตหลายพันคน จากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย และการคลอดที่ซับซ้อน อันเนื่องจากการเข้าถึง การดูแลที่ฉุกเฉินนั้นไม่เพียงพอ และองค์กร Marie Stopes International ซึ่งทำงานใน 37 ประเทศ ได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2563 การปิดการให้บริการจะส่งผลให้ผู้หญิงและเด็กหญิงกลุ่มเปราะบางถึง 9.5 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการคุมกำเนิด และการบริการทำแท้งที่ปลอดภัย ซึ่งการหยุดชะงักดังกล่าว อาจส่งผลให้มีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย 2.7 ล้านครั้ง และเกิดการเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์ถึง 11,000 ราย
กลยุทธ์ที่ควรใช้ คือ
- การจัดการกับการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ต้องคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้ตั้งครรภ์เป็นศูนย์กลาง โดยให้ข้อมูลเรื่องเพศที่ครอบคลุม การไม่มีความจำเป็นในการคุมกำเนิด และการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ โดยปราศจากการตีตรา และการป้องกันการตั้งครรภ์ในช่วงต้น รวมถึงผลที่ตามมา
- การทำแท้งอย่างปลอดภัยสำหรับผู้หญิงในประเทศในซีกโลกใต้นั้นไม่ใช่แค่เพียงทางเลือก แต่ควรเป็นการเข้าถึงด้วย ซึ่งรัฐบาลควรขจัดอุปสรรคทางกฎหมายทั้งหมดที่จำกัดการเข้าถึงการบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ อุปกรณ์สำหรับการทำแท้งที่มีคุณภาพทางการแพทย์ และข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการจัดหายาที่สามารถช่วยชีวิตได้ เช่น misoprostol และ mifepristone
- รัฐบาลควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำแท้งด้วยยา เพื่อช่วยผู้หญิงในการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้หญิง ท่ามกลางการแพร่ระบาดอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด สำหรับผู้หญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ
- การบริการด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงการทำแท้งอย่างปลอดภัย ควรเป็นส่วนหนึ่งของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงการเข้าถึงการทำแท้งอย่างปลอดภัย เป็นการเรียกร้องสิทธิ์ในการทำแท้งด้วยตนเอง
- การทำแท้งโดยการใช้ยานั้น ควรทำความเข้าใจจากมุมมองด้านสิทธิและความยุติธรรมในการสืบพันธุ์ ตามบริบทของความเป็นอิสระทางร่างกาย ภาครัฐมีหน้าที่ในการดูแลให้ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง
- ยาสำหรับการทำแท้งนั้นจำเป็นต้องได้รับผ่านสถานบริการทั้งของภาครัฐและเอกชน ซึ่งหน่วยงานด้านสุขภาพควรจัดหายาที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพง สามารถเข้าถึงได้ รวมถึงให้ความเคารพความเป็นส่วนตัว และต้องเก็บเป็นความลับ
รายงาน
5 October 2020