Warunee Kuthithamee วารุณี ขัติเตมี รายงาน
Sujata Tuladhar, จาก UNFPA สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวถึง “แนวทางปฏิบัติที่มีแนวโน้มในการจัดการกับความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะในช่วง COVID-19” ว่า ความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะยังคงแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่ประสบกับความรุนแรงทางร่างกายหรือทางเพศจากคู่ทั้งชีวิตมีตั้งแต่ 15% ถึง 64% และนอกจากนี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีผู้หญิง 4% ถึง 48% เคยประสบกับความรุนแรงจากคู่ ดังนั้นผู้หญิงในภูมิภาคนี้กำลังประสบกับความรุนแรง และไม่สามารถหาวิธีหยุดความรุนแรงหรือออกจากความสัมพันธ์ที่รุนแรงได้
โดยมีบันทึกว่าอัตราความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงสูงสุดในโลกอยู่ในภูมิภาคแปซิฟิก และเนื่องจากการเกิดการระบาดใหญ่นี้ยิ่งทำให้ความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ได้เพิ่มทวีความรุนแรงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเพศมากขึ้น รวมถึงการระบาดของโรคนี้ยังได้จำกัดการเข้าถึงการบริการความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะด้วย โดยกรณีส่วนใหญ่ของความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะยังคงไม่ได้รับรายงาน เนื่องมาจากไม่มีการบริการที่มีคุณภาพที่ตอบสนองในด้านความปลอดภัย ด้านจริยธรรม รวมถึงความกลัวการโดนตีตราและขาดการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสมในการขอความช่วยเหลือ ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียในระยะยาวต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ความปลอดภัยและความมั่นคงของผู้หญิง รวมถึงการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและการเสริมสร้างพลังอำนาจ
กลยุทธบางประการที่ UNFPA ได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงในการตอบสนองต่อความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะในบริบทของ COVID-19 ได้แก่
- การเสริมสร้างระบบ โดยการสร้างระบบความร่วมมือขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะที่จำเป็นและสามารถช่วยชีวิตได้
- การปรับให้เข้ากับบริบท COVID-19 โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ให้บริการ ภาคี และรัฐ เพื่อส่งมอบการบริการที่ตอบสนองต่อความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะให้สอดคล้องกับแนวทางปฎิบัติทั่วโลก
- การรณรงค์ โดยการสนับสนุนความจำเป็นของบริการและนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าได้มี การเตรียมพร้อมด้านความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ และการตอบสนองต่อ COVID-19
- การให้ข้อมูลด้านความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะและความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก โดยการให้คำแนะนำในการรวบรวมข้อมูลบริการด้านความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ อย่างมีจริยธรรมและปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของโปรแกรมและการแทรกแซงในนโยบายหากเป็นไปได้
- การจัดการความรู้ โดยการบันทึกแนวทางปฏิบัติที่มีแนวโน้ม บทเรียนที่ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ชีวิต และการบันทึกเรื่องราวของคนแนวหน้าในด้านความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ รวมถึงมีส่วนร่วมกับสื่อในฐานะผู้นำทางความคิด
- การเสริมสร้าง การประสานงานและการทำงานร่วมกัน โดยใช้กลไกการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆสำหรับการตอบสนองต่อความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ
โดยในด้านการป้องกันและลดความเสี่ยงนั้น
กลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลในการป้องกันความรุนแรงต่อผู้หญิงนั้นยากที่จะดำเนินการในบริบทของ Covid 19 แต่ก็มีแนวโน้มในการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของชุมชน การได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน และผู้นำทางศาสนาในการให้ข้อมูลเรื่อง Covid-19 และการป้องกันความรุนแรงอันเนื่องมาจากเพศสภาวะ เพื่อให้เข้ากับระบบดิจิทัล ซึ่งในบางพื้นที่เรากำลังเห็นตัวอย่างแรกเริ่มของการส่งมอบทักษะชีวิตแบบดิจิทัลและหลักสูตรการศึกษาเรื่องเพศศึกษาที่ครอบคลุมซึ่งท้าทายบรรทัดฐานทางเพศที่เป็นอันตราย ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับสื่อในภูมิภาคและเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลาย เช่น วิทยุชุมชนโทรทัศน์ โซเชียลมีเดีย แม้กระทั่ง SMS ข้อความ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลของ Covid-19 และความรุนแรงต่อผู้หญิง และการบริการที่มีอยู่ เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ และในบางประเทศยังได้มีการแพร่กระจายข้อความผ่านลำโพง หรือรถกระจายเสียง
นอกจากนี้มีบางประเทศที่กำลังสำรวจความคิดเห็นในการสร้างที่พักอาศัยผ่านการเป็นเครือข่ายกับ Airbnb โรงแรมหรือหอพักของมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีห้องว่างสำหรับผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะอย่างปลอดภัย รวมถึงในสถานที่กักตัวก็ยังได้มีการแบ่งปันข้อมูลในการบริการด้านความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะกับผู้อยู่อาศัย เรายังได้เห็นความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน เช่น พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงซึ่งได้รับการสนับสนุน และอำนวยความสะดวกในการส่งต่อในกรณีของความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะได้อย่างปลอดภัย ได้แก่ใน Cox’s Bazaar, ประเทศบังคลาเทศ
เมื่อเร็ว ๆ นี้เลขาธิการสหประชาชาติได้เปิดตัวกลยุทธ์ใหม่เกี่ยวกับความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ และ Covid-19 ซึ่งได้รับความร่วมมือที่ดีระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ และสหประชาชาติ เพื่อให้แน่ใจว่าเงินทุน กลไกการตอบสนองและการป้องกันสำหรับเรื่องความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะจะมีความเข้มแข็งขึ้น และเราได้เห็นความร่วมมืออย่างมากในการออกแบบพัฒนาและส่งมอบการบริการที่ตอบสนองต่อความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ
แต่ก็ยังคงมีความท้าทายหลายประการ ได้แก่
- ในบริบทส่วนใหญ่ของบริการและการตอบสนองต่อความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ ยังไม่ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนที่จำเป็นของการตอบสนองต่อ Covid
- การส่งมอบการบริการด้านความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะทางไกลนั้นควรมีความต่อเนื่อง และควรมีการปรับใช้เครื่องมือต่าง ๆ
- ผู้ให้การบริการที่มีมากแต่ทรัพยากรมีจำนวนน้อย
- รูปแบบใหม่ของความรุนแรงทำให้เราต้องพัฒนาไปในแนวทางที่เราให้บริการ
- การพัฒนาวิธีการสำหรับการรวบรวมข้อมูลด้านความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ ที่สะท้อนถึงความท้าทายของข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับ Covid
- การลงทุนโดยการอิงหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคม เพื่อป้องกันความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะ ก็เป็นสิ่งสำคัญในบริบท Covid
อย่างไรก็ตาม Covid-19 ให้โอกาสในการพัฒนาและสร้างสรรค์แนวทางของเราเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงในระยะยาว เนื่องจากความรุนแรงเนื่องจากเพศสภาวะน่าจะดำเนินต่อไปยาวนานกว่าการแพร่ระบาด ดังนั้นเราหวังว่าจะได้เรียนรู้มากพอที่จะสามารถป้องกันผลกระทบในระยะยาวต่อความเท่าเทียมทางเพศและการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงหลังจากการระบาดใหญ่สิ้นสุดลง
Ajay Kumar Singh, ได้นำเสนอเรื่อง “การเน้นย้ำเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์สามารถปกป้องผู้หญิงที่แต่งงานจากการข่มขืนในคู่สมรสหรือไม่: การศึกษาเชิงสำรวจในประเทศอินเดีย”
การข่มขืนในคู่สมรส คือการกระทำทางเพศที่ไม่พึงประสงค์โดยคู่สมรส ได้กระทำการโดยไม่ได้รับความยินยอมและ/หรือการบังคับ การข่มขู่บังคับต่อคู่สมรสที่ไม่ยินยอม ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย อับอาย และเจ็บปวด
การข่มขืนในคู่สมรสนั้น เป็นรูปแบบของมาโซคิสต์ที่พบบ่อยและน่ารังเกียจที่สุดในสังคมของประเทศอินเดีย ซึ่งซ่อนอยู่เบื้องหลังการแต่งงาน โดยมากกว่าสองในสามของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วในประเทศอินเดียที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 49 ปี ถูกสามีข่มขืนหรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ โดยบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และการรับรู้ ตราบาปทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการข่มขืนมักไม่สนับสนุนการรายงานการข่มขืนในชีวิตสมรส ซึ่งในประเทศอินเดียการข่มขืนในคู่สมรสมีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ทางนิตินัย ในขณะที่ในประเทศอื่น ๆ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติหรือศาลยุติธรรมมีบทบาทอย่างมากต่อการยอมรับว่า การข่มขืนในคู่สมรสนั้นเป็นความผิด
การศึกษาเชิงสำรวจนี้ จัดทำขึ้นในชุมชนที่มีรายได้น้อย ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียในปี พ.ศ. 2559 โดยมีหญิงสาวที่แต่งงานแล้วที่มีอายุ 15 - 29 ปี จำนวน 650 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ และบทบาททางเพศของหญิงสาวที่แต่งงานแล้ว จากการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงทางร่างกาย
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 60% ตอบว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แบบถูกบีบบังคับ หรือความรุนแรงทางเพศจากสามี และ 57% มีเพศสัมพันธ์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมี 40% เกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้ง และ 27% นั้นเกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่ง 49% ของผู้หญิงที่รายงานความรุนแรงทางเพศได้รายงานถึงความรุนแรงทางร่างกายจากสามีด้วย
ในการสอบถามประสบการณ์ของความรุนแรงทางเพศและทางร่างกาย
78% ได้รับความรุนแรง, 64% ไม่ใช่ความรุนแรงทางร่างกาย, 62% ความรุนแรงทางเพศ, 45% ความรุนแรงทางร่างกาย และ 42% ความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศ ซึ่ง 63% เคยประสบกับความรุนแรงทางร่างกายจำนวนหนึ่งครั้ง และ 18% เป็นจำนวนหลายครั้ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดย 37% ของผู้หญิงที่ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์กับสามีต้องเผชิญกับความรุนแรงทางร่างกาย
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือผู้หญิงที่เน้นย้ำเรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของตน ได้กล่าวว่าสามีได้บีบบังคับในเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างมาก และสามีที่มีพฤติกรรมควบคุมสูงนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงทางเพศด้วย การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการรับรู้ของผู้หญิงที่ว่า "ถ้าผู้หญิงแต่งงานแล้วเธอควรพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์กับสามีเมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการ" เป็นตัวบ่งชี้การมีเพศสัมพันธ์ที่บีบบังคับที่สำคัญที่สุด
ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าเมื่ออายุและระยะเวลาของการสมรสเพิ่มขึ้นนั้น ความรุนแรงทุกรูปแบบดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นด้วย ผู้หญิงจำนวนมากได้ประสบกับความรุนแรงในทุกรูปแบบ ซึ่งผู้หญิงที่ไม่รู้หนังสือและมีลูกจำนวนมากมีประสบการณ์ความรุนแรงมาก แต่ผู้หญิงที่มีงานทำจะได้รับความรุนแรงน้อยกว่าในทุกประเภท นอกจากนี้ภรรยายังจะถูกทุบตีด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน และผู้หญิงมุสลิมมักจะถูกกระทำความรุนแรงมากกว่าศาสนาอื่น ๆ อันเนื่องจากข้อห้ามทางสังคม ครอบครัวและการพึ่งพาสามีมากเกินไป ทำให้ผู้หญิงถูกจำกัดในการขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ข้อสรุป ได้แก่
- ผู้หญิงจำนวนมากแม้จะเน้นย้ำเรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ แต่ก็ยังถูกสามีข่มเหงและบีบบังคับทางเพศ
- เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจเมื่อเห็นว่าผู้หญิงที่ประสบกับความรุนแรงส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงเช่นกัน
- ผู้หญิงที่มีประสบการณ์ทางเพศและความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ จำนวนมากมีการรับรู้ถึงความเสี่ยงที่สูง
- ข้อห้ามทางสังคม และครอบครัวที่แนบมากับรายงานการข่มขืนในชีวิตสมรส รวมถึงข้อจำกัดผู้หญิงทางกฎหมาย ได้บังคับให้ผู้หญิงต้องทนทุกข์ทรมานเพียงลำพังและทำให้พวกเธอเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงรวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี
คำแนะนำ ได้แก่
- ควรมีการสนับสนุนการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบและบริบทของการบีบบังคับทางเพศในกลุ่มหญิงที่แต่งงานแล้วในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
- การมีส่วนร่วมของผู้ชายเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศมากขึ้น
- การข่มขืนในคู่สมรสควรได้รับการยอมรับจากรัฐว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศอินเดีย
- การสนับสนุนในท้องถิ่นเพื่อให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ที่ประสบกับความสัมพันธ์ทางเพศที่ถูกบังคับสามารถเข้าถึงกฎหมายได้ และสามารถโต้แย้งต่อต้านการข่มขืนในคู่สมรสได้
วารุณี ขัติเตมี
รายงาน
Warunee Kuthithamee วารุณี ขัติเตมี รายงาน
14 December 2020